Welcome

Welcome

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย
ชื่องานวิจัย     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชนกพร  ธีระกุล

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้นตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
            เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
            เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
     การศึกษาครั้งนี้  มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
            1.ประชากร   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ ในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2540 จำนวน ห้องเรียน  ห้องเรียนละ 30 คน  ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
           
            2.กลุ่มตัวอย่าง    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ ในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2540  โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   จำนวน ห้องเรียน  มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน  ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม  จุดประสงค์  ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  ชื่อวัสดุอุปกรณ์  และประเมินผล  โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบ่งเป็น แบบ  ได้แก่
            1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน  40 แผน
            1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ 1  เล่ม1  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ..2539  โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  จำนวน 40 แผน
2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น  เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็นรูปภาพชนิด ตัวเลือก  และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน ชุด  ดังนี้
            2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี ฉบับ  คือ
                  2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต  จำนวน ข้อ
                  2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก  จำนวน ข้อ
                   2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ  จำนวน ข้อ
                   2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น  จำนวน ข้อ
                   2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์  จำนวน ข้อ
            2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี ฉบับ  คือ
                   2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย  จำนวน ข้อ
                   2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น  จำนวน ข้อ
            จากนั้นทำแบบทดสอบ  ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ  และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หาคุณภาพด้านความยากง่าย(p)  ได้ค่าระหว่าง  .40 - .80  ค่าอำนาจจำแนก(D)  ตั่งแต่  .25  ขึ้นไป  และหาค่าความเชื่อมั่น  โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร  KR-20  ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .90
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า


            เด็กปฐมวัยที่ได้รับ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจารจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ มีค่าเฉลี่  39.733  สำหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีค่าคะแนนเฉลี่ย  31.066

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 19

สัปดาห์ที่ 19
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน 2556

การเรียนการสอน

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )

-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
















บันทึกครั้งที่ 18

สัปดาห์ที่ 18
วันจันทร์ ที่ 23 กันยายน 2556

การเรียนการสอน


-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)


โดยมีกระบวนการสอนดังนี้

1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)
2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)
3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ
5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไรแล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต)เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ

10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?
































บันทึกครั้งที่ 17

สัปดาห์ที่ 17
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน 2556

การเรียนการสอน

อาจาร์ยตฤน ให้ทำ Mind Mapping ในการทำ Cooking 
ขั้นแรก ให้แต่ะละกลุ่มเลือกแจกแจงเรื่องอาหาร ว่ามีไรบ้าง 
ขั้นที่สอง เลือกเมนูของแต่ละกลุ่มว่าจะทำอะไร กลุ่มของดิฉันเลือกทำแกงจืด เนื้อหาใน Map มี อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ประโยชน์ วิธีทำ
ขั้นที่สาม จากนั้นก็เขียนขั้นตอนวีธีทำแกงจืด
ขั้นที่สี่ เขียนแผนในเรื่องการสอนทำ Cooking แกงจืด
วัตถุประสงค์ 
1. เด็กสามารถบอกส่วนผสมและสังเกตวัตถุของแกงจืด
2. เด็กสามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของวัตถุก่อนและหลังทำได้
สาระสำคัญ

 1. เด็กรู้ประโยชน์ของแกงจืด 2. เด็กได้รู้ส่วนผสมและวิธีการทำแกงจืด
วิธีการ 
ขั้นนำ - ครูนำเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องผัก
          - ครูถามคำถามเด็กเกี่ยวกับอาหารที่เด็กชอบ
ขั้นสอน - ครูถามคำถามเด็กว่าเห็นอุปกรณ์อะไรบ้างและเราจะนำมาทำอะไร 
             - ครูแนะนำอุกรณ์และสร้างข้อตกลงกับเด็กร่วมกันในการทำอาหาร
             - ครูและเด็กร่วมกันทำแกงจืดสีรุ้ง
ขั้นสรุป - ครูและเด็กร่วมกันพูดถึงประโยชน์ของผัก
             - ครูและเด็กร่วมกันสรุปส่วนผสมของแกงจืดและบอกความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ 
             - เด็กทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อ    อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนผสมแกงจืด และเพลง
ประเมิน - สังเกตการบอกเล่าวัตถุของเด็ก และสังเกตการบอกวัตถุถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ

หลังจากนั้นให้ทุกกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน



























บันทึกครั้งที่ 16

สัปดาห์ที่ 16
วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556


หมายเหตุเรียนชดเชย   วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องทำบล๊อก ให้นักศึกษาตกแต่งบล๊อกให้ดี จากนั้น

อาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนองาน

-นำเสนอของเล่นเข้ามุม

1. นิทานเคลื่อนที่ ใช้แม่เหล็กในการเคลื่อนไหวสัตว์-บูรณาการด้านภาษา


2 .กล่องสเปกตัม หรือ กล่องสีน่าค้นหา ส่องกล่องแล้วแสงจะกระทบกับของที่อยูข้างในจึงทำให้เรามอง

เห็นสีแสงกระทบกับสีทำให้เห็นสี 7 สี


3. รถลงหลุม 


4. ลิงห้อยโหน (กลุ่มดิฉัน) หลักการคือ ถ้าจุดหมุนห่างมากจะเกิดความเอียงมาก แต่ถ้าจุดหมุมห่างน้อย

ก็จะเอียงน้อย


5. ซูโมกระดาษ หลักการคือ เกิดจากไม้ไอติมกระทบกับกล่องจึงทำให้วัตถุเคลื่อนไหว


6. กระดาษเปลี่ยนสี หลักการคือ เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแม่สี 3 สี จึงทำให้เรามองเห็นอีกสีหนึ่ง

7. สัตว์โลกน่รัก การกำเนิดของสัตว์หรือวงจรของสัตว์


8. กล่องสัตว์ 


























นำเสนอของเล่น

.1 กระดาษร้องเพลง
2. กระป๋องผิวปาก
3. กรวยลูกโป่ง

4. กิ้งก่าไต่เชื่อก

5 .กระป๋องบูมเมอแรง
















นำเสนอการทอดลอง

1. กาลักน้ำ หลักการคือโมเลกุลแรงดันของเหลวไหลจากที่สูกลงมาที่ต่ำ

2. ตะเกียบดูดขวด หลักการ ที่เรายกขวดได้เพราะมีแรงดันภายในขวดจึงทำให้เรายกขวดข้าวด้วยตะเกียบได้ที่เรายกได้

    1) ยกไม่ได้เพราะข้าวในขวดมันหลวมจึงทำให้ยกขวดไม่ได้

    2) ที่ยกได้เพราะมีการกดข้าวให้แน่นในขวดจึงมีความหนาแน่นและทำให้ยกขวดได้

    3 )ดอกไม้บาน หลัการคือ เพราะกระดาษมีการดูดซึมน้ำจึงทำให้กระดาษดอกไม้บาน













บันทึกครั้งที่ 15

สัปดาห์ที่ 15
วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี
***หมายเหตุ มีเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 8.30 น.




บันทึกครั้งที่ 14

สัปดาห์ที่ 14
วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2556

การเรียนการสอน


- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม





กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่าแว่นขยาย