Welcome

Welcome

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย
ชื่องานวิจัย     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชนกพร  ธีระกุล

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้นตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
            เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
            เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
     การศึกษาครั้งนี้  มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
            1.ประชากร   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ ในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2540 จำนวน ห้องเรียน  ห้องเรียนละ 30 คน  ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
           
            2.กลุ่มตัวอย่าง    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ ในภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2540  โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   จำนวน ห้องเรียน  มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน  ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม  จุดประสงค์  ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  ชื่อวัสดุอุปกรณ์  และประเมินผล  โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบ่งเป็น แบบ  ได้แก่
            1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน  40 แผน
            1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ 1  เล่ม1  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ..2539  โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  จำนวน 40 แผน
2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น  เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็นรูปภาพชนิด ตัวเลือก  และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน ชุด  ดังนี้
            2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี ฉบับ  คือ
                  2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต  จำนวน ข้อ
                  2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก  จำนวน ข้อ
                   2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ  จำนวน ข้อ
                   2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น  จำนวน ข้อ
                   2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์  จำนวน ข้อ
            2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี ฉบับ  คือ
                   2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย  จำนวน ข้อ
                   2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น  จำนวน ข้อ
            จากนั้นทำแบบทดสอบ  ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ  และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หาคุณภาพด้านความยากง่าย(p)  ได้ค่าระหว่าง  .40 - .80  ค่าอำนาจจำแนก(D)  ตั่งแต่  .25  ขึ้นไป  และหาค่าความเชื่อมั่น  โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร  KR-20  ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .90
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า


            เด็กปฐมวัยที่ได้รับ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจารจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ มีค่าเฉลี่  39.733  สำหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีค่าคะแนนเฉลี่ย  31.066

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 19

สัปดาห์ที่ 19
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน 2556

การเรียนการสอน

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )

-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร
















บันทึกครั้งที่ 18

สัปดาห์ที่ 18
วันจันทร์ ที่ 23 กันยายน 2556

การเรียนการสอน


-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)


โดยมีกระบวนการสอนดังนี้

1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)
2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)
3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ
5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไรแล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต)เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ

10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?
































บันทึกครั้งที่ 17

สัปดาห์ที่ 17
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน 2556

การเรียนการสอน

อาจาร์ยตฤน ให้ทำ Mind Mapping ในการทำ Cooking 
ขั้นแรก ให้แต่ะละกลุ่มเลือกแจกแจงเรื่องอาหาร ว่ามีไรบ้าง 
ขั้นที่สอง เลือกเมนูของแต่ละกลุ่มว่าจะทำอะไร กลุ่มของดิฉันเลือกทำแกงจืด เนื้อหาใน Map มี อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ประโยชน์ วิธีทำ
ขั้นที่สาม จากนั้นก็เขียนขั้นตอนวีธีทำแกงจืด
ขั้นที่สี่ เขียนแผนในเรื่องการสอนทำ Cooking แกงจืด
วัตถุประสงค์ 
1. เด็กสามารถบอกส่วนผสมและสังเกตวัตถุของแกงจืด
2. เด็กสามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของวัตถุก่อนและหลังทำได้
สาระสำคัญ

 1. เด็กรู้ประโยชน์ของแกงจืด 2. เด็กได้รู้ส่วนผสมและวิธีการทำแกงจืด
วิธีการ 
ขั้นนำ - ครูนำเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องผัก
          - ครูถามคำถามเด็กเกี่ยวกับอาหารที่เด็กชอบ
ขั้นสอน - ครูถามคำถามเด็กว่าเห็นอุปกรณ์อะไรบ้างและเราจะนำมาทำอะไร 
             - ครูแนะนำอุกรณ์และสร้างข้อตกลงกับเด็กร่วมกันในการทำอาหาร
             - ครูและเด็กร่วมกันทำแกงจืดสีรุ้ง
ขั้นสรุป - ครูและเด็กร่วมกันพูดถึงประโยชน์ของผัก
             - ครูและเด็กร่วมกันสรุปส่วนผสมของแกงจืดและบอกความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ 
             - เด็กทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อ    อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนผสมแกงจืด และเพลง
ประเมิน - สังเกตการบอกเล่าวัตถุของเด็ก และสังเกตการบอกวัตถุถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ

หลังจากนั้นให้ทุกกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน



























บันทึกครั้งที่ 16

สัปดาห์ที่ 16
วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556


หมายเหตุเรียนชดเชย   วันนี้อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องทำบล๊อก ให้นักศึกษาตกแต่งบล๊อกให้ดี จากนั้น

อาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมานำเสนองาน

-นำเสนอของเล่นเข้ามุม

1. นิทานเคลื่อนที่ ใช้แม่เหล็กในการเคลื่อนไหวสัตว์-บูรณาการด้านภาษา


2 .กล่องสเปกตัม หรือ กล่องสีน่าค้นหา ส่องกล่องแล้วแสงจะกระทบกับของที่อยูข้างในจึงทำให้เรามอง

เห็นสีแสงกระทบกับสีทำให้เห็นสี 7 สี


3. รถลงหลุม 


4. ลิงห้อยโหน (กลุ่มดิฉัน) หลักการคือ ถ้าจุดหมุนห่างมากจะเกิดความเอียงมาก แต่ถ้าจุดหมุมห่างน้อย

ก็จะเอียงน้อย


5. ซูโมกระดาษ หลักการคือ เกิดจากไม้ไอติมกระทบกับกล่องจึงทำให้วัตถุเคลื่อนไหว


6. กระดาษเปลี่ยนสี หลักการคือ เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแม่สี 3 สี จึงทำให้เรามองเห็นอีกสีหนึ่ง

7. สัตว์โลกน่รัก การกำเนิดของสัตว์หรือวงจรของสัตว์


8. กล่องสัตว์ 


























นำเสนอของเล่น

.1 กระดาษร้องเพลง
2. กระป๋องผิวปาก
3. กรวยลูกโป่ง

4. กิ้งก่าไต่เชื่อก

5 .กระป๋องบูมเมอแรง
















นำเสนอการทอดลอง

1. กาลักน้ำ หลักการคือโมเลกุลแรงดันของเหลวไหลจากที่สูกลงมาที่ต่ำ

2. ตะเกียบดูดขวด หลักการ ที่เรายกขวดได้เพราะมีแรงดันภายในขวดจึงทำให้เรายกขวดข้าวด้วยตะเกียบได้ที่เรายกได้

    1) ยกไม่ได้เพราะข้าวในขวดมันหลวมจึงทำให้ยกขวดไม่ได้

    2) ที่ยกได้เพราะมีการกดข้าวให้แน่นในขวดจึงมีความหนาแน่นและทำให้ยกขวดได้

    3 )ดอกไม้บาน หลัการคือ เพราะกระดาษมีการดูดซึมน้ำจึงทำให้กระดาษดอกไม้บาน













บันทึกครั้งที่ 15

สัปดาห์ที่ 15
วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี
***หมายเหตุ มีเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 8.30 น.




บันทึกครั้งที่ 14

สัปดาห์ที่ 14
วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2556

การเรียนการสอน


- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม





กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่าแว่นขยาย





บันทึกครั้งที่ 13

สัปดาห์ที่ 13
วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2556

การเรียนการสอน

 หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันจัดงานเกษียณอายุราชการ


“คืนวันที่พากเพียร วันเกษียณอันภาคภูมิ” 

บนเส้นทางของชีวิตข้าราชการไทย …ก้าวสู้เส้นทางสายใหม่ สายที่ 61 คือ เส้นทางหลังวันเกษียณอายุราชการ

เกษียณ หมายถึง ???

เกษียณ หมายถึง สิ้นไป ส่วนใหญ่เราจะพบเห็นว่า ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ

เกษียณอายุ (กริยา) หมายถึง ครบกำหนดอายุรับราชการ หรือ สิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน สำหรับระบบราชการไทยแล้ว เรากำหนดเกษียณอายุ เมื่อ อายุ 60 ปี (อันนี้ส่วนใหญ่ แต่จะเห็นบางกรณี มีอายุ เกิน 60 ปี แต่ก็ยังคงปฏิบัติคุณงามความดีรับใช้แผ่นดินในระบบราชการได้ ต่อได้อีก ก็มีบ้าง แต่ไม่ขอกล่าวในที่นี้)

สิ่งที่ควบคู่กับ การเกษียณอายุราชการ ในฐานะของรุ่นน้อง ๆ วัยยังไม่ถึง 60 ก็คือ การสร้างความประทับใจ เชิดชูเกียรติ ของ ผู้ที่ทำคุณให้แผ่นดิน จนถึงวัย 60 ปี คือ จัดงานแสดงมุทิตาจิต , งานอำลา อาลัย , งานคารวะกตัญญุตา, งานกตัญญุตาคารวะ หรือจะตั้งชื่อเรียกว่าอย่างไร ก็คงตามที่ผู้จัดงานจะประดิษฐ์ เรียงร้อยถ้อยคำ ให้สมเกียรติ สมศักดิ์ศรี แด่ ผู้เกษียณ

บันทึกครั้งที่ 12

สัปดาห์ที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 กันยายน 2556

การเรียนการสอน

นำเสนอการทดลองทางวิทยาศาตร์


.ในการทำการทดลองควรเสนอเป็นขั้นตอน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
3) จิตวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือการระบุปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา และกำหนด ขอบเขตของปัญหา 

2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือการคาดเดาคำตอบ ที่จะได้รับ

3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง

4. ขั้นสรุปผล คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ


เพิ่มเติม


1. ออกซิเจนช่วยให้ไฟติด

วิธีทำการทดลอง นำเทียนไขมา 1 แท่ง แก้วน้ำ 1 ใบ ไม้ขีดไฟ 1 กลัก แล้วจุดเทียนไข ให้ติดไฟ ตั้งเทียนไว้ให้มั่นคง จากนั้นเอาแก้วน้ำ มาครอบเทียนไข ที่จุดไว้ ให้ทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราใช้แก้ว ครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟ จะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในอากาศมี ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ ส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไข ก็จะดับลงทันที

2. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง

วิธีทำการทดลอง หากระดาษแข็งมา 3 แผ่น แล้วเจาะรูตรงกลางทุกแผ่น จากนั้นนำกระดาษ ทั้ง 3 แผ่น มาเรียงให้รูตรงกลาง อยู่ตรงกัน จุดเทียนไข 1 แท่ง ให้ติดไฟ ตั้งไว้หลังแผ่นกระดาษทั้ง 3 แผ่น ให้พอมองผ่านรูในกระดาษทั้ง 3แผ่นได้ แล้วลองขยับกระดาษแผ่นใดแผ่นหนึ่ง โดยพยายามไม่ให้รูตรงกัน ให้ทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อรูกระดาษในกระดาษ อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน เราก็จะสามารถ มองเห็นเทียนไขได้ เมื่อเราขยับ แผ่นกระดาษ แผ่นใดแผ่นหนึ่ง เราจะไม่สามารถมองเห็น แสงของเทียนไขได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ คุณสมบัติของแสง ที่เดินทาง เป็นเส้นตรงเสมอ

3. อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

วิธีทำการทดลอง หาลูกโป่งมา 1 ลูก วางไว้บนโต๊ะ แล้วหาหนังสือเล่มหนาๆ มาวางทับ บนลูกโป่ง จากนั้นให้เป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้นทีละน้อยๆ แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราเป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้น ทีละน้อย ลูกโป่งจะสามารถ ยกหนังสือขึ้นได้ ยิ่งเป่าลมเข้าไปมากเท่าใด หนังสือก็จะถูกยกสูง มากขึ้นเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

4. การทดลองว่าไข่ดีหรือเน่า

วิธีทำการทดลอง นำแก้วน้ำมา 2 ใบ ใส่น้ำลงไปพอสมควร แล้วนำไข่ดีมา 1 ฟอง ไข่เสียมา 1 ฟอง จากนั้นนำไข่ดี ใส่ลงไปในแก้วใบที่ 1 และนำไข่เสีย ใส่ลงไปในแก้วใบที่ 2 แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า ไข่ที่ใส่ลงไป ในแก้วใบที่ 1 นั้นจะจมน้ำ ไข่ที่ใส่ลงไป ในแก้วใบที่ 2 นั้นจะลอยน้ำได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในไข่เสีย จะมีฟองอากาศที่ เกิดจากการเน่าเสียอยู่ ไข่เสียจึงลอยน้ำได้ ส่วนไข่ดี ไม่มีฟองอากาศ จึงจมน้ำ

5. เสียงสะท้อนได้

วิธีทำการทดลอง ถ้าที่บ้านใคร มีตุ่มใส่น้ำใบใหญ่ๆหน่อย ก็จะทำการทดลองนี้ได้ โดยลองส่งเสียง ตะโกนใส่เข้าไป ในตุ่มน้ำ แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราส่งเสียงตะโกนเข้าไป ในตุ่มน้ำ จะมีเสียงสะท้อนกลับออกมา เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเสียงสามารถสะท้อนได้ เมื่อตกกระทบวัตถุหรือผนังต่างๆ

6. จรวดทำงานอย่างไร

วิธีทำการทดลอง หาลูกโป่งมา 1 ใบ เป่าลมให้ลูกโป่ง พองตัวจนเต็มขนาด แล้วใช้มือจับปากลูกโป่งไว้ ไม่ให้ลมออก จากนั้นหันทิศทาง ของมือที่จับลูกโป่ง ไปทางทิศที่ต้องการ จะให้ลูกโป่งพุ่ง ออกไป แล้วปล่อยมือ ที่จับลูกโป่งออก
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราปล่อยมือ ที่จับลูกโป่งออก ลูกโป่งจะพุ่งไปทางด้าน ที่อยู่ตรงข้าม กับปากลูกโป่ง เนื่องจากแรงดันของอากาศ ที่ออกมาทางปากลูกโป่ง จะผลักดันให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไป เป็นหลักการ เดียวกันกับเครื่องบิน ไอพ่นและจรวดใช้ ลักษณะแรงดัน ดังกล่าวสามารถ ใช้ได้ทั้งในที่มีอากาศ และในภาวะสูญญากาศ เช่น การทำงานของจรวด ในอวกาศ

7. ต้นไม้คายน้ำ

วิธีทำการทดลอง หาต้นไม้มา 1 กระถาง ใช้ถุงพลาสติกชนิดใส ห่อหุ้มกิ่งไม้และใบ ไว้ทั้งหมด ใช้เชือกมัดด้านล่างไว้ นำไปวางไว้กลางแดด สักประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า หลังจากตั้งทิ้งไว้กลางแดด จะมีละอองน้ำเล็กๆ เกาะอยู่ที่ถุงพลาสติกด้านใน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ต้นไม้คายน้ำออกมา

8. การกระจายตัวของน้ำร้อนและน้ำเย็น

วิธีทำการทดลอง นำแก้วมาใส่น้ำ 2 ใบ ใบที่ 1 ใส่น้ำร้อนที่เพิ่งเดือดมาใหม่ๆ ลงไป ส่วนใบที่ 2 ใส่น้ำที่เย็นจัด ลงไป จากนั้นให้หยดสีแดงลงไป แก้วละ 1 หยด แล้วทำการสังเกต การกระจายของสี แล้วบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า แก้วที่ใส่น้ำร้อน จะมีการกระจายตัวของสี ได้เร็วกว่า แก้วที่ใส่น้ำเย็น เพราะว่าโมเลกุล ของน้ำร้อน จะเคลื่อนกระจายตัวได้เร็ว กว่าของน้ำเย็น

9. การเกิดฝน

วิธีทำการทดลอง หากาต้มน้ำมา 1 ใบ ทำการต้มน้ำให้เดือด แล้วหาฝาหม้อ ที่ถูกนำไป แช่ในตู้เย็นจนเย็น นำมาอังไว้ บริเวณ ปากของกาต้มน้ำ ให้ไอน้ำ สัมผัสกับ ฝาหม้อ
ผลการทดลอง จะพบว่า เกิดหยดน้ำขึ้นที่ฝาหม้อ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะไอน้ำ เมื่อได้รับความเย็น ก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งเป็นหลักการ เดียวกันกับ การเกิดฝน ซึ่งก้อนเมฆ ก็คือไอน้ำนั่นเอง เมื่อกระทบความเย็น ก็จะกลั่นตัว ตกลงมาเป็นฝน

10. ไข่ลอยในน้ำเกลือ

วิธีทำการทดลอง นำแก้วมา 1 ใบ ใส่น้ำลงไปค่อนแก้ว แล้วเอาไข่ ที่ยังไม่เสียมา 1 ฟอง ใส่ลงไปในแก้วน้ำนั้น สังเกต ว่าไข่ลอยขึ้นมาหรือไม่ แล้ว บันทึกผล การทดลอง จากนั้น นำไข่ออกจากแก้ว เอาเกลือใส่ลงไปในแก้วน้ำ ประมาณ 4-5 ช้อน ใช้ช้อนคน ให้เกลือละลายน้ำ แล้วลองเอาไข่ใส่ ในแก้วอีกครั้ง สังเกต ว่าไข่ลอยขึ้นมาหรือไม่ แล้ว บันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราใส่ไข่ลงไป ในแก้วที่เป็น น้ำธรรมดา ไข่จะจม แต่เมื่อเรา ใส่ไข่ลงไปใน น้ำเกลือ ไข่จะลอยน้ำได้ สาเหตุเป็นเพราะน้ำเกลือ มีความเข้มข้น กว่าน้ำ จึงพยุงไข่ให้ลอย

บันทึกครั้งที่ 11

สัปดาห์ที่ 11
วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม 2556

การเรียนการสอน

-นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
-อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากที่ทุกๆ กลุ่มทำการทดลองและอธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน

ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้ 



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้
1.การตั้งสมมุติฐาน 

2.การทดลอง
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
4.การสรุป - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน 

บันทึกครั้งที่ 10

สัปดาห์ที่ 10
วันอาทิตย์ ที่ 18 สิงหาคม 2556

** เรียนชดเชย


- อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตนได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2556

ข้าพเจ้านำเสนอเรื่อง เเตรเสียงช้าง

บันทึกครั้งที่ 9

สัปดาห์ที่ 9
วันจันทร์ ที่ 12 สิงหาคม 2556


* หมายเหตุ : วันแม่แห่งชาติ งดการเรียนการสอน




 วันแม่แห่งชาติ 2556 กลอนวันแม่
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ 2555
12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย

ความหมายของคำว่า "แม่"
     คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก
     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว
     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น 
วันแม่แห่งชาติ รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก
พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย 
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์
ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่
ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี


ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำวันแม่
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา